ประวัติผู้จัดทำ



ชื่อ-สกุล : ด.ญ. ธนภรณ์ หนูเกลี้ยง
ชื่อเล่น : อ้อม
วัน/เดือน/ปีเกิด : วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543
อายุ : 13 ปี
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
เบอร์โทรศัพท์ : 087-3909039
E-mail : tanapornoom@gmail.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความชอบส่วนตัว : กริฟฟิน สัตว์ในตำนานกรีก




    Griffon (ฝรั่งเศส), Griffin (อังกฤษ) สัตว์ประหลาดในตำนานเทพนิยายกรีก โดยกริฟฟอนจะมีหน้าที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือหนึ่งเป็นผู้ลากราชรถของเหล่าเทพ ซึ่งกริฟฟอนเหล่านี้จะแตกต่างจากกริฟฟอนทั่วไปคือมีร่างและปีกเป็นสีดำ และหน้าที่ที่ 2 ก็คือคอยลงโทษเหล่ามนุษย์ที่มักมากในทรัพย์สมบัติ ซึ่งอันนี้มาจากนิสัยของกริฟฟอนที่ชอบสะสมสมบัติมีค่า หรือชอบทำรังไว้ใกล้ กับขุมสมบัติ 

   กริฟฟิน หรือ กริฟฟอน (griffin, gryphin, griffon หรือ gryphon) คือสัตว์ในเทพนิยายร่างกายเป็นครึ่งนกอินทรี ครึ่งสิงโต โดยส่วนหัว ขาคู่หน้าและปีก เป็นนกอินทรี ส่วนลำตัวและขาคู่หลังเป็นสิงโต และมีหางเป็นงู บางจำพวกก็มี หางของสิงโต ขนบนหลังเป็นสีดำ ขนที่อยู่ข้างหน้าเป็นสีแดง ส่วนขนปีกเป็นสีขาว อาศัยอยู่ในถ้ำตามภูเขาตามตำนานกรีก


    กริฟฟินเป็นสัตว์เทพผู้พิทักษ์เหมืองทองคำของดินแดนไฮเปอร์โบเรีย (ดินแดนในตำนานซึ่งอยู่ทางขั้วโลกเหนือ มีแสงอาทิตย์ และความอุดมสมบูรณ์ตลอดกาล) เป็นรูปจำแลงของเทพีเนเมซิส เทพแห่งความพยาบาท ซึ่งทำหน้าที่หมุนวงล้อแห่งโชคชะตา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ลากรถม้าของพระอาทิตย์ (เทพอะพอลโล) อีกด้วยกริฟฟินนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ และบางคนยังถือว่ากริฟฟินเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งยโสอีกด้วยในยุคแรก


    กริฟฟินถูกเปรียบเทียบให้เป็นเหมือนกับซาตาน ที่คอยล่อลวงวิญญานของมนุษย์ให้ติดกับ แต่ต่อมากริฟฟินก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของทั้งทวยเทพ และมนุษย์ สำหรับพระเยซู เพราะมันเป็นเจ้าแห่งพิภพและเวหา อีกทั้งมีรังสีแห่งแสง อาทิตย์. ศัตรูของกริฟฟินคือ บาซิลิสก์ ซึ่งเปรียบได้กับรูปจำลองของซาตาน



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


บัญญัติ 10 ประการ ที่เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำลาย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น

2.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง

3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน


10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบัน หรือสังคมนั้นๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต


ตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานและให้บริการ

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (Electronic mail หรือ e-mail)

                การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับ เช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไปซึ่งในการส่ง ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
                สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้
รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้
                1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบบราวเซอร์
                2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจะดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

2.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Prorocal : FTP)

                เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีเครื่องต้นทางทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย เครื่องปลายทางทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย  ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ get(download) และ put(upload)
การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี  2 ลักษณะ ได้แก่ การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล และการโอนย้ายข้อมูลผ่าน Web Browser

3.การแลกเปลี่ยนข่าวสาร

                เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห๋นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม         เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต(usenet) บล็อก(blog) เป็นต้น

4.การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิฟเวอร์ จากนั้นเครื่อง      เซิฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา
2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนาของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆได้โดยตรง

5.บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต


                อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนห้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้นการสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต



     การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีดังนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล

2.เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้

3.หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร

4.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิตอล

5.บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูปโดยคิดค่าบริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ เป็นต้น

การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์มีข้อดี คือ สะดวกและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่มีข้อจำกัดด้านความเร็ว และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

      เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน คือ โพรโทคอล(protocol) โพรโทคอลที่ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกว่า Transmission Control Protocol / Internet Protocol หรือมีชื่อย่อว่า TCP/IP

   การส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตนั้นใช้หลักการของเครือข่ายแบบ แพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆอ้างถึงได้



  หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 ดดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนมาก ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เรียกว่า DNS : Domain Name Server ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน


  โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
1.โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ เช่น .com ใช้   สำหรับกลุ่มธุรกิจการค้า
2.โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ บอกถึงประเภท   ขององค์กร เช่น or ใช้สำหรับกลุ่มธุรกิจ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


    ปัจจุบันบริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ตั้งแต่การเรียน การทำงาน การซื้อสินค้า ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มคนในสังคม

1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต


         อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection network) หมายถึง  การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก  เสียง เป็นต้น

1.2 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


1)  อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ 
          ปี ค.ศ. 1969 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต (arpanet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
         อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2  เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงกรวิจัยขั้นสูง (ARPAnet) และเครือข่ายกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกกว่า อินเทอร์เน็ต (internet) และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

2)  อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
  ปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
       ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามมารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
      ปี พ.ศ.2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมืออกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

                

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS